ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติ คือ ประวัติศาสตร์ทางธรณีของโลก ที่จะบอกเล่าความเป็นมา และ สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ข้อมูลทางธรณีวืทยา เป็น ข้อมูลที่ใช้สำหรับศึกษาธรณีประวัติ ได้แก่...
1) อายุทางธรณีวิทยา
2) ซากดึกดำบรรพ์
3) โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน
อายุทางธรณี แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ...
1) อายุเทียบสำพันธ์ หรือ อายุเปรียบเทียบ
เป็นอายุหินในเชิงเปลียบเทียบ
การหาอายุหินโดยวิธีนี้ จะบอกได้เพียงช่วงอายุโดยประมาณของหิน หรือ บอกได้ว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น
อายุเปรียบเทียบหาโดยอาศัยข้อมูลจาก..
-ซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ
-ลักษณะการลำดับของหินชนิดต่างๆ
-ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวืทยาของหิน
...แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาธรณีวิทยส ที่เรียกว่า ธรณีกาล
ก็จะสามารถบอกอายุของหินที่เราศึกษาได้ ว่า เป็นหินยุคไหน หรือ ช่วงอายุของหินเป็นเท่าใด
อายุสัมบูรณ์
อายุสัมบูรณ์ (Absolute age) เป็นอายุของหินที่สามารถหาได้จากธาตุไอโซโทป ที่ประกอบอยู่ในหิน และบอกอายุเป็นตัวเลขได้ การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ใน หิน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษาธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ได้แก่ ธาตุคาร์บอน-14 ธาตุโพแทสเซียม-40 ธาตุเรเดียม-226 และธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น
ซากดึกดำบรรพ์ หรือบรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำ บรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้น หิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างละรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เป็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธ์ไป
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
การเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆ ในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification) หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement)
การลำดับชั้นหิน
ลำดับชั้นหิน คือ การเรียงตัวทับถมกันของตะกอนที่ตกทับถม ณ ที่แห่งหนึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งมักพบว่าชนิดของตะกอนจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในอดีตช่วงนั้น
ชนิดของหิน
หินอัคนี จากหินหนืดที่แข็งตัวในเปลือกโลกเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอนเช่นหินแกรนิต และจากลาวาที่ปะทุออกมาภายนอกผิวโลกเช่นภูเขาไฟ เรียกว่า หินอัคนีพุ เช่น หินพัมมิช หินสคอเรีย
หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพอันเนื่องมาจากความร้อนและความกดดันของโลก เช่น หินไนซ์แปรสภาพมาจากหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์แปรสภาพมาจากหินทราย หินชนวนแปรสภาพมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรสภาพมาจากหินปูน
วัฎจักรของหิน
วัฏจักรของหิน (Rock cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีก ก็ได้ กล่าวคือ เมื่อ หินหนืดเย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็นหินอัคนี เมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมี กระแสน้ำ ลม ธารน้ำแข็ง หรือคลื่นในทะเล พัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็น หินชั้นขึ้น เมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปร และหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น